ประสาทหูเทียม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการคิดค้นและพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถเข้ามาทำหน้าที่แทนประสาทหูของมนุษย์ที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเดิมแล้ว ในผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สูญเสียการได้ยิน หรือมีอาการหูหนวกหูตึงขั้นรุนแรงมากในระดับที่ไม่สามารถใช้เครื่องช่วยฟังได้แล้ว ประสาทหูเทียมจึงเป็นทางเลือกที่เหลืออยู่ที่สามารถช่วยให้กลับมาได้ยินเสียงและใช้ชีวิตตามปติได้ ทั้งนี้ ประสาทหูเทียม เองก็มีข้อจำกัดและอุปสรรคอยู่เช่นกันเพราะไม่ใช่ว่าคนหูหนวกทุกคนจะสามารถใช้ได้

  • ค่าใช้จ่าย

ประสาทหูเทียม จะมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณ์ที่ช่วยเสริมการได้ยินอื่นๆ โดยจะมีทั้งราคาค่าอุปกรณ์ ค่าผ่าตัด และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้มีค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 1 ล้านบาท สำหรับใครที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่ามีความจำเป็นจะต้องใช้ประสาทหูเทียม ถ้ามีข้อจำกัดทางการเงินหรือมีกำลังทรัพย์ที่ไม่สามารถครอบคลุมได้อาจจะทำให้เสียสิทธิ์หรือไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ์การรักษาที่เท่าเทียมได้ ดังนั้น ค่าใช้จ่ายจึงเป็นอุปสรรคที่ทำให้คนหูหนวกหลายคนไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้หรือเข้าถึงอุปกรณ์ได้ แต่ในปัจจุบันมีโครงการรัฐและโครงการอุปถัมภ์คนหูหนวกมากมายที่เข้ามาช่วยเหลือในส่วนนี้เพื่อช่วยให้สามารถเข้าถึงสิทธิ์การรักษาที่เท่าเทียม

  • ผลข้างเคียงจากการผ่าตัด

ในการผ่าตัด ประสาทหูเทียม นั้น สามารถส่งผลข้างเคียงหรือผลกระทบกับร่างกายได้เหมือนกับการผ่าตัดอื่นๆ ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นภาวะแทรกซ้อน อาการชาที่ใบหน้า แผลผ่าตัด ชาที่สิ้น รวมไปถึงการมีเสียงดังในหู และยังสามารถมีอาการน้ำในหูชั้นในรั่ว กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุก ซึ่งจะเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อมีการฟื้นฟูอย่างเต็มที่แล้วก็จะหายไปเป็นปกติ การผ่าตัด ประสาทหูเทียม จะเป็นการผ่าตัดที่อยู่ในบริเวณที่ใกล้กับสมองจึงสามารถส่งผลข้างเคียงต่างๆ บ้าง แต่ก็ไม่ใช่ผลข้างเคียงที่ไม่สามารถหายได้ ทั้งนี้ เพื่อความสำเร็จของการผ่าตัดมักจะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและความพยายามในการที่จะฟื้นฟูของตัวผู้ป่วยเองอีกด้วย

  • ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการฟื้นฟู

ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินส่วนมากนั้นมักจะไม่สามารถสื่อสารหรือปฏิสัมพันธ์โดยใช้ภาษาพูดได้ ดังนั้น หลังการผ่าตัดฝัง ประสาทหูเทียม เสร็จสิ้น ผู้ป่วยจึงต้องเข้ารับการฟื้นฟูเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง การพูด และการใช้ภาษาในการสื่อสาร เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ และเพื่อให้การรับรู้เสียงและการได้ยินมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ จะต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างด้วยกันไม่ว่าจะเป็น ความพยายามของผู้ป่วยเอง และความมีวินัยในการเข้ารับการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ซึ่งอาจจะถือว่าเป็นอุปสรรคหรือข้อจำกัดสำหรับผู้ป่วยบางคนได้โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อายุยังน้อย อาจวอกแวกหรือไม่สามารถจดจ่อกับการฝึกฝนได้นาน ส่งผลให้การฟื้นฟูต้องยืดระยะเวลาให้นานออกไปอีก

ประสาทหูเทียม ก่อนการผ่าตัดแพทย์จะมีการวินิจฉัยและประเมินหลายปัจจัยก่อนทุกครั้งว่าผู้

ป่วยมีความจำเป็นจะต้องใช้ประสาทหูเทียมปละมีความพร้อมที่จะเข้ารับการผ่าตัดประสาทหูเทียมหรือไม่ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งเมื่อพบความผิดปกติเกี่ยวกับการได้ยิน